วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความคุณธรรม : คุณธรรมและจริยธรรม


นิยาม ความหมาย “คุณธรรม จริยธรรม”
“คุณธรรม”
คุณธรรม หมายถึง
คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียว เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขจึงเป็นที่ต้องการของมนุษย์
คุณธรรมเป็นสิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ - ท่านพุทธทาสภิกขุ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล - พระราชวรมุนี
คุณธรรม เป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติ
ปฏิบัติที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล คุณธรรมเป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ - พระเมธีธรรมาภรณ์
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน – ประมวลจากการประชุมระดมความคิด

“จริยธรรม”
จริยธรรม
หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ - พุทธทาสภิกขุ
จริยธรรม หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม - พระราชวรมุนี
จริยธรรม หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม - พระเมธีธรรมาภรณ์
จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม- สาโรช บัวศรี
จริยธรรม หมายถึง ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ - กีรติ บุญเจือ
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น
-ประมวลจากการประชุมระดมความคิด
คุณธรรมที่พึงประสงค์
คุณธรรมควรประกอบด้วยคุณธรรมที่พึงประสงค์
( ศ. ประเวศ วะสี, คุณธรรมนำการพัฒนา ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม , ๒๕๔๙)

1. ความมีน้ำใจ ความไม่ทอดทิ้งกัน ความมีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อส่วนรวม
2. มีความขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้น พึ่งตนเองได้ ไม่มัวเมาในอบายมุข
3. มีสัมมาชีพ มีความพอเพียง
4. มีความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคน สามารถรวมตัวร่วม
คิด ร่วมทำอย่างเสมอภาค
5. อนุรักษ์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้อย่างเป็นธรรม
และยั่งยืน
6. มีความยุติธรรมและแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
7. มีการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


คุณลักษณ์ด้านคุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นสภาพความดีงามในด้านต่างๆ
4 ข้อคือ ได้แก่
1.คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้
กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน
ความสามารถพึ่งตนเอง และการมีวินัย
2.คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้
กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ฉันทะ สัจจะ ความรับผิดชอบ
ความสำนึกในหน้าที่ และความกตัญญู
3. คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยยึดประวิง
หรือตักเตือนให้กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความมีสติและรอบคอบ
และความตั้งจิตให้ดี

4. คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยส่งเสริมให้กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน ความเอื้อเฟื้อต่อกัน ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยคุณธรรม
เครื่องประดับชีวิตที่สูงค่า
ในอดีตพ่อแม่ผู้ปกครองมักจะสอนลูกให้เป็นคนเก่ง เรียนดี ต่อมาในสังคมปัจจุบัน เริ่มรับรู้ว่าคุณธรรมต้องนำปัญญา การเป็นคนเก่งอย่างเดียวอาจจะเอาชีวิตไม่รอด แต่การเป็นคนมีคุณธรรมจะช่วยให้สามารถมีวัคซีนใจใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและมีความสุขยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองเริ่มมองเห็นแล้วว่าควรสอนให้เด็กเก่ง โดยที่มีคุณธรรมควบคู่กันไปด้วย
คุณธรรมหมายถึงความสำเร็จที่สมบูรณ์ของผู้มีความรู้ มีความดี มีความเข้าใจ ว่ากำลังทำ
อะไร เพื่ออะไร การสร้างสมคุณธรรม จึงเริ่มจากความคิดที่ดีในจิตใจและอาศัยการพิจารณา
ไตร่ตรองของสติปัญญาอย่างลึกซึ้ง ที่จะเข้าใจเหตุและผลของแต่ละการกระทำก่อนที่จะตัดสินทำ
อะไรให้เกิดผลดีมีคุณประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
คุณธรรมเปรียบเช่นอัญมณีล้ำค่า หลากสีหลายรูปทรง เป็นเครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่ง
งดงาม ซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำ คำพูด และการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอก แต่หากมีคุณธรรม ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเองและผู้อื่น ควบคู่กันไปกับการฝึกจิต ให้มีพลังความสงบ ซึ่งน่าจะเป็นหนทางในการใช้ปัญญาให้เป็นสมบัติที่มีค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากความสงบเป็นพื้นฐานของการสร้างและการรักษาคุณธรรม เปรียบเสมือนทองที่รองรับ เพชรพลอยไม่ให้แตกร้าว ดังนั้นเมื่อคุณธรรมและความสงบอยู่ในบุคคลคนเดียวกันแล้วย่อมน่าจะถือได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่สมบูรณ์พร้อม มั่งคั่งพร้อมด้วยเครื่องประดับที่สูงส่ง
คุณธรรมที่ดีมักจะเริ่มมาจากความรู้ทางจิตใจเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของทุกชีวิต เพราะจิตใจเป็นผู้สร้างความคิด แล้วแสดงออกเป็นคำพูด และการกระทำอันนำผลกลับมาสู่ผู้คิดและผู้กระทำตลอดเวลา การฝึกจิตใจก็คือการได้มาซึ่งประสบการณ์ของความสงบสุขจากภายใน จากความพยายามในการสร้าง ควบคุมและรักษาความคิดที่ดีไว้ขณะที่มีสายใยทางจิตกับแหล่งแห่งความสงบและคุณธรรม จนกระทั่งสามารถขจัดความคิดที่ไม่บริสุทธิ์ออกไป อันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิสัย โดยไม่ได้หมายถึงการนั่งหลับตาหรือการบังคับอิริยาบถใดๆ เพียงอย่างเดียว การมีคุณธรรมนอกจากให้
คุณประโยชน์กับตัวเอง ครอบครัว และสังคมแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ต่อโลกอีกด้วย เพราะเป็นการปฏิบัติตามทฤษฎีที่มีประสบการณ์และคุณธรรมเป็นกำลังเสริม เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีทั้งในครอบครัวและสังคม ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของจิตใจและสติปัญญา ที่สามารถสื่อความหมายได้อย่างกระชับ ชัดเจน เหมาะสม ด้วยคำพูด และการกระทำที่ให้ผลดีแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดเวลา โดยเริ่มจากการฝึกทัศนคติในเชิงบวกให้ได้เสียก่อน จบๆๆๆๆๆ




วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติของลูบิค(Rubik)

Rubikหลากหลายแบบ
สแคว-วัน



RUBIK 3x3 เรืองแสง(สวยมากแพงด้วยเห่อๆๆๆ)

RUBIK 2x2 (แบบพกพา)

อันนี้ของสะสมของผม 2x2 พีระมิดและวงกลลม

เจ๋งป๊ะล่ะ...เหอๆๆๆ





มาดูประวัติกันดีกว่านะครับ....


รูบิค หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิค เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค (Ernö Rubik) ซึ่งเป็น ประติมากร และ ศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิก ชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และ ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ของ วัฒนธรรมสมัยนิยม ของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิคนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวม ทั้งของแท้ และ เลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลกประวัติลูกบาศก์ของรูบิค นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค ประติมากร และ ศาสตราจารย์สถาปนิก ชาวฮังการี ผู้ซึ่งมีความสนใจในเรขาคณิต และ รูปทรงสามมิติ เออร์โนได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรนานาชาติ ได้มีการผลิดชุดแรกเพื่อสำรวจตลาด ในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยทำการจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์หลังจากนั้นลูกบาศก์ นี้ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก ก็เริ่มให้ความสนใจในลูกบาศก์นี้ ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 บริษัท ไอดีลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่ งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์นแบร์ก และ กรุงปารีส ในช่วงต้นปีค.ศ. 1980 บริษัทไอดีลทอยส์ ได้เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิค" (Rubik's Cube) และ ได้มีการส่งออกลูกบาศก์นี้จากประเทศฮังการีชุดแรกเพื่อการจำหน่าย ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1980ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิค" นั้นเป็นเครื่องหมายการค้า ของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้นบริษัทไอดีลทอยส์จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้ ในขณะนั้นจึงปรากฏของลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอดีลทอยส์ได้แพ้คดีการล่วงละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดย แลร์รี นิโคลส์ Larry Nichols ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิค หมายเลข JP55‒8192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิคขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิ จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน ภาพชิ้นส่วนลูกบาศก์ของรูบิค มีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 ซ.ม.) กว้าง ยาวและสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น ชิ้นกลางหน้าของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และ ชิ้นอื่นๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นที่เป็นมุมให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทายนอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็นชิ้นขอบ ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็นชิ้นมุม ซึ่งมีสี 3 ด้านการเรียงสลับเปลี่ยนลูกบาศก์ของรูบิค มีจำนวนรูปแบบการเรียงสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด (8! × 38−1) × (12! × 212−1)/2 = 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (~4.3 × 1019) ประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน (quintillion) รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 29 ครั้งหรือ น้อยกว่าการแข่งขันมีการจัดการแข่งขัน ปั่นลูกบาศก์ (Speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการ ที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขัน และ จับเวลา ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในปี ค.ศ. 2004 สหพันธ์ลูกบาศก์โลก ได้จัดทำมาตรฐานใหม่ โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแตคแมท:ที่มาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี