วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความคุณธรรม : คุณธรรมและจริยธรรม


นิยาม ความหมาย “คุณธรรม จริยธรรม”
“คุณธรรม”
คุณธรรม หมายถึง
คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียว เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขจึงเป็นที่ต้องการของมนุษย์
คุณธรรมเป็นสิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ - ท่านพุทธทาสภิกขุ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล - พระราชวรมุนี
คุณธรรม เป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติ
ปฏิบัติที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล คุณธรรมเป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ - พระเมธีธรรมาภรณ์
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน – ประมวลจากการประชุมระดมความคิด

“จริยธรรม”
จริยธรรม
หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ - พุทธทาสภิกขุ
จริยธรรม หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม - พระราชวรมุนี
จริยธรรม หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม - พระเมธีธรรมาภรณ์
จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม- สาโรช บัวศรี
จริยธรรม หมายถึง ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ - กีรติ บุญเจือ
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น
-ประมวลจากการประชุมระดมความคิด
คุณธรรมที่พึงประสงค์
คุณธรรมควรประกอบด้วยคุณธรรมที่พึงประสงค์
( ศ. ประเวศ วะสี, คุณธรรมนำการพัฒนา ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม , ๒๕๔๙)

1. ความมีน้ำใจ ความไม่ทอดทิ้งกัน ความมีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อส่วนรวม
2. มีความขยันขันแข็ง อดทน อดกลั้น พึ่งตนเองได้ ไม่มัวเมาในอบายมุข
3. มีสัมมาชีพ มีความพอเพียง
4. มีความเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคน สามารถรวมตัวร่วม
คิด ร่วมทำอย่างเสมอภาค
5. อนุรักษ์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้อย่างเป็นธรรม
และยั่งยืน
6. มีความยุติธรรมและแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
7. มีการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


คุณลักษณ์ด้านคุณธรรม หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นสภาพความดีงามในด้านต่างๆ
4 ข้อคือ ได้แก่
1.คุณธรรมที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้
กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน
ความสามารถพึ่งตนเอง และการมีวินัย
2.คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยเร่งรัดให้
กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ฉันทะ สัจจะ ความรับผิดชอบ
ความสำนึกในหน้าที่ และความกตัญญู
3. คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยยึดประวิง
หรือตักเตือนให้กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความมีสติและรอบคอบ
และความตั้งจิตให้ดี

4. คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน หมายถึง สภาพความดีงามที่ช่วยส่งเสริมให้กระทำการใดๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ได้แก่ ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน ความเอื้อเฟื้อต่อกัน ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยคุณธรรม
เครื่องประดับชีวิตที่สูงค่า
ในอดีตพ่อแม่ผู้ปกครองมักจะสอนลูกให้เป็นคนเก่ง เรียนดี ต่อมาในสังคมปัจจุบัน เริ่มรับรู้ว่าคุณธรรมต้องนำปัญญา การเป็นคนเก่งอย่างเดียวอาจจะเอาชีวิตไม่รอด แต่การเป็นคนมีคุณธรรมจะช่วยให้สามารถมีวัคซีนใจใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและมีความสุขยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองเริ่มมองเห็นแล้วว่าควรสอนให้เด็กเก่ง โดยที่มีคุณธรรมควบคู่กันไปด้วย
คุณธรรมหมายถึงความสำเร็จที่สมบูรณ์ของผู้มีความรู้ มีความดี มีความเข้าใจ ว่ากำลังทำ
อะไร เพื่ออะไร การสร้างสมคุณธรรม จึงเริ่มจากความคิดที่ดีในจิตใจและอาศัยการพิจารณา
ไตร่ตรองของสติปัญญาอย่างลึกซึ้ง ที่จะเข้าใจเหตุและผลของแต่ละการกระทำก่อนที่จะตัดสินทำ
อะไรให้เกิดผลดีมีคุณประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
คุณธรรมเปรียบเช่นอัญมณีล้ำค่า หลากสีหลายรูปทรง เป็นเครื่องประดับตกแต่งชีวิตให้สูงส่ง
งดงาม ซึ่งสามารถแสดงออกทางการกระทำ คำพูด และการแต่งกาย แม้ว่าบุคคลบางคนอาจจะไม่มีทรัพย์สมบัติภายนอก แต่หากมีคุณธรรม ที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในก็ถือว่าเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งที่แท้จริงได้ ทั้งยังมุ่งเน้นให้เรียนรู้ถึงธรรมชาติดั้งเดิมที่ดีงามของตนเองและผู้อื่น ควบคู่กันไปกับการฝึกจิต ให้มีพลังความสงบ ซึ่งน่าจะเป็นหนทางในการใช้ปัญญาให้เป็นสมบัติที่มีค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากความสงบเป็นพื้นฐานของการสร้างและการรักษาคุณธรรม เปรียบเสมือนทองที่รองรับ เพชรพลอยไม่ให้แตกร้าว ดังนั้นเมื่อคุณธรรมและความสงบอยู่ในบุคคลคนเดียวกันแล้วย่อมน่าจะถือได้ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่สมบูรณ์พร้อม มั่งคั่งพร้อมด้วยเครื่องประดับที่สูงส่ง
คุณธรรมที่ดีมักจะเริ่มมาจากความรู้ทางจิตใจเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของทุกชีวิต เพราะจิตใจเป็นผู้สร้างความคิด แล้วแสดงออกเป็นคำพูด และการกระทำอันนำผลกลับมาสู่ผู้คิดและผู้กระทำตลอดเวลา การฝึกจิตใจก็คือการได้มาซึ่งประสบการณ์ของความสงบสุขจากภายใน จากความพยายามในการสร้าง ควบคุมและรักษาความคิดที่ดีไว้ขณะที่มีสายใยทางจิตกับแหล่งแห่งความสงบและคุณธรรม จนกระทั่งสามารถขจัดความคิดที่ไม่บริสุทธิ์ออกไป อันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและนิสัย โดยไม่ได้หมายถึงการนั่งหลับตาหรือการบังคับอิริยาบถใดๆ เพียงอย่างเดียว การมีคุณธรรมนอกจากให้
คุณประโยชน์กับตัวเอง ครอบครัว และสังคมแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ต่อโลกอีกด้วย เพราะเป็นการปฏิบัติตามทฤษฎีที่มีประสบการณ์และคุณธรรมเป็นกำลังเสริม เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีทั้งในครอบครัวและสังคม ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับความละเอียดอ่อนของจิตใจและสติปัญญา ที่สามารถสื่อความหมายได้อย่างกระชับ ชัดเจน เหมาะสม ด้วยคำพูด และการกระทำที่ให้ผลดีแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดเวลา โดยเริ่มจากการฝึกทัศนคติในเชิงบวกให้ได้เสียก่อน จบๆๆๆๆๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น